คุณธรรมเเละจริยธรรม
วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
สัปดาห์นี้ เรามาคุยกันเรื่องที่ฮิตกันมากในระยะนี้ นั่นคือคุณธรรมและจริยธรรมในระบอบประชาธิปไตย
การเมืองการปกครองมีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ คุณธรรมและ จริยธรรมของคนในสังคมจึงมีบทบาทสำคัญกับระบบการเมืองการปกครองที่สังคมนั้นใช้ ในสังคมประชาธิปไตย ลักษณะการเมืองการปกครองเน้นหนักในทางที่สะท้อนความหวัง ความปรารถนาของมวลมนุษยชาติ มีการปกครองที่รัฐบาลมีอำนาจจำกัด เน้นความเสมอภาค เป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ความสงบสุขและความมั่นคงของการดำรงอยู่ของรัฐจึงขึ้นอยู่กับ คุณธรรมและจริยธรรมของคนในสังคม
ความหมายและความสำคัญของคุณธรรมและจริยธรรม
คุณธรรม (Morality) และจริยธรรม (Ethics) เป็นคำศัพท์ที่มีความหมายใกล้เคียงกันทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตามที่บัญญัติไว้ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
คุณธรรม แปลว่า สภาพคุณงามความดี
การเมืองการปกครองมีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ คุณธรรมและ จริยธรรมของคนในสังคมจึงมีบทบาทสำคัญกับระบบการเมืองการปกครองที่สังคมนั้นใช้ ในสังคมประชาธิปไตย ลักษณะการเมืองการปกครองเน้นหนักในทางที่สะท้อนความหวัง ความปรารถนาของมวลมนุษยชาติ มีการปกครองที่รัฐบาลมีอำนาจจำกัด เน้นความเสมอภาค เป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ความสงบสุขและความมั่นคงของการดำรงอยู่ของรัฐจึงขึ้นอยู่กับ คุณธรรมและจริยธรรมของคนในสังคม
ความหมายและความสำคัญของคุณธรรมและจริยธรรม
คุณธรรม (Morality) และจริยธรรม (Ethics) เป็นคำศัพท์ที่มีความหมายใกล้เคียงกันทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตามที่บัญญัติไว้ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
คุณธรรม แปลว่า สภาพคุณงามความดี
คุณธรรม จริยธรรม
ความหมายของคุณธรรม จริยธรรม คำว่าจริยธรรม ซึ่งตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Morality ได้มีผู้ให้ความหมายไว้ ดังนี้
โชติ เพชรชื่น (2524 : 23) กล่าวว่าจริยธรรม ก็คือ “จริยะ” แปลว่าความประพฤติกิริยาที่ควรประพฤติ “ธรรม” คือ ความดี เมื่อรวมความหมายของสองคำเข้าด้วยกันคือ ความประพฤติดี กรมวิชาการ (2524 : 3-4) ไดให้ความหมายจริยธรรมว่าเป็นแนวทางของการประพฤติชอบทั้งกาย วาจา และใจ เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม
ความหมายของคุณธรรม จริยธรรม คำว่าจริยธรรม ซึ่งตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Morality ได้มีผู้ให้ความหมายไว้ ดังนี้
โชติ เพชรชื่น (2524 : 23) กล่าวว่าจริยธรรม ก็คือ “จริยะ” แปลว่าความประพฤติกิริยาที่ควรประพฤติ “ธรรม” คือ ความดี เมื่อรวมความหมายของสองคำเข้าด้วยกันคือ ความประพฤติดี กรมวิชาการ (2524 : 3-4) ไดให้ความหมายจริยธรรมว่าเป็นแนวทางของการประพฤติชอบทั้งกาย วาจา และใจ เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)